http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันนี้มีความตื่นตัวในโรคพาร์กินสันเป็นอย่างมาก และได้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุของโรคพาร์กินสันและการรักษาขึ้นมาด้วย เนื่องในวันพาร์กินสันโลก วันที่ 11 เมษายน จึงอยากนำเสนอบทความที่ให้ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการรักษาทั้งจากทางการใช้ยาใหม่ๆ และการผ่าตัดสมอง หรือการผ่าตัดสอดสายเข้าลำไส้เล็กเพื่อปลดปล่อยยาอย่างสม่ำเสมอโดยใช้เครื่องปั๊มยาช่วย มีการคาดการว่าโดยทางสถิติน่าจะมีผู้ป่วย ป่วยด้วยโรคนี้ในประเทศไทย ประมาณ 40,000-50,000 คน โดยบางส่วนอาจยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องตลอดจนยังไม่ได้รักษาอย่างถูกวิธี

 อาการ
อาการของโรคพาร์กินสัน 4 อาการหลัก ได้แก่

1.อาการสั่น (Rest Tremor)

2.อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle rigidity)

3.อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia)

4.อาการสูญเสียการทรงตัว (Postural instability)

 อาการที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่ อาการน้ำลายไหลเขียนตัวหนักสือเล็ก เดินไม่แกว่งแขน เดินซอยเท้า เท้าติด ยกเท้าลำบาก หกล้มบ่อย พูดเสียงเบาๆ อยู่ในลำคอ นอนไม่หลับ เป็นต้น

 อาการจะเริ่มจากข้างใดข้างหนึ่งและลามไปอีกข้างหนึ่ง โดยที่อาการสองข้างจะไม่เท่ากัน ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการสั่น เคลื่อนไหวลำบากปวดกล้ามเนื้อ ไหล่ติด ในรายที่สูงอายุอาจมาด้วยอาการหกล้ม ซึ่งนำไปสู่สภาวะกระดูกหักได้

 การรักษา

ปัจจุบันการรักษาด้วยยายังคงเป็นการรักษาที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในช่วงต้นของอาการ โดยยากลุ่มใหม่ๆ ที่ใช้ในการรักษาจะเป็นยาชนิดออกฤทธิ์ยาวใช้กินเพียงแค่วันละ 1 ครั้ง ก็สามารถควบคุมอาการได้ 24 ชั่วโมง เช่น pramipexole หรือ ropinirole หรือยาชนิดแผ่นแปะบริเวณผิวหนัง ได้แก่ Rotigotine patch ซึ่งยาชนิดใหม่ทั้ง 3 ตัวนี้ เป็นยากลุ่มโดปามีนอโกนิส (dopamineagonists) ชนิดออกฤทธิ์ยาว ซึ่งถ้าใช้ในระยะเริ่มต้นจะช่วยชะลอการใช้ยา Levodopa ได้ ซึ่งทำให้โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวเช่นอาการยาหมดฤทธิ์ก่อนเวลาอันควร (wearing off) หรืออาการตัวยุกยิกรำละคร (dyskinesias) ลดน้อยลงได้ ส่วนยาอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นยาใหม่ คือยา Rasagiline ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม MAO-B inhibitor ซึ่งนอกจากมีฤทธิ์ในการลดอาการของโรคพาร์กินสันได้แล้ว อาจยังสามารถชะลอ ความเสื่อมของโรคพาร์กินสันได้อีกด้วย ส่วนยา Stalevo เป็นยาที่มีส่วนประกอบของยา levodopa ร่วมกับ entacapone และ carbidopa ซึ่งสามารถยืดระยะเวลาให้ยาสามารถออกฤทธิ์ได้นานขึ้นกว่าเดิม

 ส่วนในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจากโรคนี้และยาออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้การปรับยาเป็นไปได้ยากขึ้น จึงมีการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี

 1.การผ่าตัดสอดสายเข้าทางหน้าท้องสู่ลำไส้เล็กและเชื่อมต่อสายหน้าท้องกับยา Duodopa ซึ่งเป็นยา Levodopa gel โดยใช้ปั๊มยาเข้าสู่ลำไส้เล็กตลอดเวลาทำให้การดูดซับยาดีขึ้น ใช้ยาขนาดน้อยลงและยาออกฤทธิ์ได้ยาวขึ้นมาก ช่วยลดอาการของโรคพาร์กินสันในระยะรุนแรง และสามารถปรับขนาดของยาที่ให้ได้ตลอดเวลาตามอาการของโรค

 2.การผ่าตัดสมอง Deep Brain Stimulation เป็นการฝังสายไฟในสมองส่วนลึก โดยการเจาะรู้ผ่านรูเล็กๆ บริเวณกะโหลกศรีษะ และเชื่อมต่อสายเข้ากับแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่บริเวณหน้าอก ซึ่งสามารถตั้งโปรแกรมได้ตามความเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย และทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ออกฤทธิ์ได้ยาวขึ้น ภาวะแทรกซ้อนน้อยลง และยังสามารถลดปริมาณยาที่กินอยู่ลงได้ 30-50% ทำให้ภาวะแทรกซ้อนจากยาลดลงด้วย ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นกว่าเดิมมาก

 ส่วนอาการทางที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว (non motor symptoms) เช่น ความจำหลงลืม การนอนหลับที่ผิดปรกติ ฝันร้าย ประสาทหลอน ความผิดปรกติของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ความดันต่ำ กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่อยู่ ความเสื่อมทางเพศ เหล่านี้เป็นอาการที่พบได้ของโรคนี้ และสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้

 ในปัจจุบันโรคพาร์กินสันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม รวมทั้งการเปลี่ยนถ่ายของเซล์ตัวอ่อน (Stem Cell) หรือวิธีล้างสารตกค้างจากร่างกาย (Chelation) เนื่องจากเรายังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ว่าเกิดจากอะไร

 นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ได้มีการตั้งสมมุติฐานและทำการทดลองเพื่อหาสาเหตุของโรคนี้และหาทางหยุดยั้งการเสื่อมของเซลล์สมอง รวมทั้งทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นด้วย จึงเป็นโอกาสและความหวังของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/27963

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,803
Page Views2,008,969
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view