http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

รู้ทันโทษสเตียรอยด์ ก่อนอยู่ในภาวะเสพติด

รู้ทัน! โทษ “สเตียรอยด์” ก่อนอยู่ในภาวะเสพติด

 โดย..จารยา บุญมาก
       
       ในครัวเรือนมักจะมียาที่มีส่วนผสมของยาสเตียรอยด์ติดบ้านไว้เพื่อใช้บรรเทาอาการอักเสบ และกดภูมิคุ้มกันในโรคต่างๆ นั้น เช่น โรคภูมิแพ้, โรคผิวหนัง, โรคตาและโรคข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์ ฯลฯ หลายคนทราบดีว่าเป็นสเตียรอยด์ เป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องระมัดระวัง หากจะซื้อใช้ก็ต้องใส่ใจอ่านฉลากที่มีการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แน่นอนว่า อาจจะดีหากได้รับยาจากคำสั่งแพทย์และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ทว่า ยังมีภัยเงียบที่หลายคนรู้เท่าไม่ถึงการณ์เกี่ยวกับยาดังกล่าว นั่นคือ ภาวะการเสพติดสเตียรอยด์
       
       ภก.เด่นชัย ดอกพอง รพ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวในงานเสวนาเรื่อง “สภาพปัญหาและผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากการใช้สเตียรอยด์” ที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ ว่า แม้ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานพยายามจะใช้กฎหมายประกอบกับการเฝ้าระวังการใช้สเตียรอยด์ เพื่อผลักดันให้ร้านขายยาและผู้ผลิตยามีจริยธรรมในการใช้สารสเตียรอยด์ในยารักษาโรคอย่างเหมาะสมก็ตาม แต่ก็ยังพบลักลอบจำหน่ายยาปลอมมากมายจนบางครั้งทำให้ผู้บริโภคต้องตกอยู่ในภาวะที่ขาดยาไม่ได้ เช่น เคยใช้ยาแก้ปวดแผนโบราณแบบใดก็จะใช้ต่อเนื่องเป็นเดือนเป็นปี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลร้ายต่อสุขภาพทั้งสิ้น

 สเตียรอยด์แบบฉีด และยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์

       โดยทั่วไปการที่แพทย์จะพบผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้สเตียรอยด์ที่พบได้บ่อยๆ จะมีการแสดงอาการหน้าบวม เป็นแผล ท้องลาย ขาลาย หรือในบางรายก็มีภาวะการติดเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูงมีผลกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้สเตียรอยด์ยังอาจบดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ ทำให้ตรวจพบโรคเมื่ออาการรุนแรงแล้ว กดการหลั่งฮอร์โมนภายในร่างกาย การให้สเตียรอยด์ขนาดสูง จะไปกดการทำงานของระบบอวัยวะที่ทำหน้าที่ สร้างและควบคุมการการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งจะมากหรือ น้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของยา และระยะเวลาในการใช้ยา ทำให้เมื่อหยุดใช้ยานี้แล้ว ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนี้ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
       
       จากการลงพื้นที่สำรวจชุมชน พบว่า ชาวบ้านบางรายมีการใช้ยาลูกกลอน ยาน้ำ ที่ผสมสารสเตียรอยด์สูงมาก กระทั่งผู้ป่วยบางรายยอมรับว่าขาดยาที่เคยใช้ประจำไม่ได้ แม้จะไม่มีภาวะแพ้เป็นแผล ท้องลาย หรือหน้าบวมมากนัก แต่ก็มีภาวะแทรกซ้นอื่นๆ หลายอย่าง ซึ่งเมื่อซักประวัติแล้วพบว่ามีการบริโภคยาสเตียรอยด์คิดเฉลี่ยเป็นความเข้มข้นระดับเม็ดก็ตกเม็ดละ 30 มิลลิกรัม มีการบริโภคอย่างต่ำ 4 เม็ดต่อวัน และมากสุด 12 เม็ดต่อวัน กลุ่มนี้จึงมักแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากสเตียรอยด์มีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง และยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทดแทนเนื้อเยื่อเก่าที่หลุดไป การใช้สเตียรอยด์อาจทำให้มีอาการกระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่มีอาการปวดมาก่อนและหากเป็นในระดับรุนแรงในภาวะผลต่อระบบประสาทส่วนกลางสเตียรอยด์อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ และอารมณ์ของผู้ใช้ยาได้ นอกจากนี้ ยังพบอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ เช่น นอนไม่หลับ เจริญอาหาร กระสับกระส่าย หงุดหงิด เป็นต้น

 เกิดภาวะกระดูกผุ (Osteoporosis)

       ในบางรายพบว่า เกิดภาวะกระดูกผุ (Osteoporosis) โดยเฉพาะผู้สูงอายุ, หญิงวัยทอง และยังมีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาและแขน และต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเป็นปกติ ผลต่อตายาหยอดตาบางชนิด มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หากใช้ไปนาน ๆ อาจทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย บางรายอาจทำให้ตาบอดได้ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ สเตียรอยด์มีผลทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า Cushing’s Syndrome ลักษณะที่พบในผู้ป่วยประเภทนี้ เช่น อ้วน ขนดก ระบบประจำเดือนผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง ปวดหลัง เป็นสิว มีอาการทางจิตใจ หัวใจล้มเหลว บวมน้ำ เป็นต้น
       
       ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาว่า การเกิดภาวะเสพติดสเตียรอยด์ จะสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อใช้ยานานเพียงใดและปริมาณเท่าใด จึงเกิดขึ้น แต่ระบุได้ว่ามีอันตรายเกิดขึ้นจริง
       
       ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) เสริมว่า การใช้ยาสเตียรอยด์จึงไม่ใช่แค่การเร่งเฝ้าระวังการเติมสารเกินขนาดในยาประเภทต่างๆ เท่านั้น แต่ผู้บริโภคเองต้องมีการเก็บประวัติการใช้ยา ตัวอย่างยา และแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งเวลาเข้าพบแพทย์เวลาเจ็บป่วยทุกกรณี เพื่อปกป้องตนเองจากการใช้ยาสเตียรอยด์

 ที่มา  : http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9550000035897

 

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,351
Page Views2,005,457
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view