http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

รู้จักกับทองคำ

รู้จักกับทองคำ

ทองคำ (Gold)
คือ ธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ นอกจากนี้ใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

คุณสมบัติของทองคำ
      ทองคำมีความแวววาวอยู่เสมอ และไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ดังนั้นเมื่อสัมผัสถูกอากาศ สีของทองจะไม่หมอง ไม่เกิดสนิม และมีความอ่อนตัว นอกจากนี้ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด เพราะทองเพียงแค่ประมาณ 2 บาท เราสามารถยืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 8 กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต และทองคำยังเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดีอีกด้วย
      คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้ทองคำเป็นที่หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานับพันปี โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญและได้รับความนิยมอย่างสูงสุดสำหรับวงการเครื่องประดับทองคำ เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐานหลายประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่น และเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ
งดงามมันวาว (Luster) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่นๆ ช่วยเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง คงทน (durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป 3000 ปีก็ตาม
หายาก (Scarce) ทองเป็นแร่ที่หายาก กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์ (31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต
นำกลับมาหลอมใหม่ได้ (Reusable) ทองคำเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพราะมีความเหนียวและอ่อนนิ่มสามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยจุดหลอมเหลว 1064 และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส
ไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมี (Chemically Inert) ทองคำบริสุทธิ์ไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีได้ง่าย จึงทนต่อการผุกร่อนและไม่เกิดสนิมกับอากาศ (Oxidize) แต่มีปฏิกิริยากับคลอรีน ฟลูออรีน น้ำประสานทอง
มีค่าความเหนียว (Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือ ทองคำบริสุทธิ์จะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า 1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร

ประวัติของทองคำ
      มนุษย์รู้จักทองคำนับตั้งแต่ประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว เริ่มตั้งแต่สมัยอิยิปต์โบราณและเมโสโปเตเมีย นอกจากนี้คัมภีร์ไบเบิลฉบับเก่าแก่ได้กล่าวถึงทองคำไว้ว่าคนในอดีตมีความเชื่อว่าทองมีคุณสมบัติในการรักษาโรคเมื่อสวมใส่เป็นเครื่องนุ่งห่มหรือแม้กระทั่งเมื่อบริโภคทองคำเข้าไปอีกด้วย ช่วงปีค.ศ.ที่1492-1600 ในยุคที่คริสโตเฟอร์โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่ (New World) พบว่าทองคำจำนวนมากกว่า 8,000,000 ออนซ์หรือคิดเป็น 35% ของปริมาณทองทั้งหมดของโลกถูกผลิตจากแถบอเมริกาใต้ ในศตวรรษที่ 17และ18 เหมืองทองของโลกใหม่ (New World) โดยเฉพาะเหมืองที่อยู่ในโคลัมเบียสามารถผลิตทองคำได้ คิดเป็นมูลค่า 61% และ 80% ของปริมาณทองทั้งหมดของโลกตามลำดับ และในศตวรรษที่ 18 ทองคำจำนวน 48,000,000 ออนซ์ถูกผลิตมาจากเหมืองดังกล่าว
       ในปี 1823 รัสเซียกลายเป็นผู้นำการผลิตทองคำ และคงความเป็นใหญ่ในการผลิตต่อไปอีก 14 ปี โดยทองคำที่ถูกผลิตในปี1850-1875 มีปริมาณมากกว่าปริมาณทองคำทั้งหมดที่ผลิตในโลกตั้งแต่ปี 1492 ซึ่งมีเหตุผลหลักมาจากการค้นพบ แคลิฟอเนียและออสเตรเลีย ตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 ปริมาณการผลิตทองคำของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากอลาสก้า ดินแดนแถบแม่น้ำยูคอน และแอฟริกาใต้ มีความสามารถในการผลิตทองคำมากยิ่งขึ้น อันเป็นผลมาจากการพัฒนากระบวนการผลิตทองคำในแอฟริกาใต้
        ปลายศตวรรษที่ 20 แอฟริกาใต้ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เป็นผู้ผลิตทองคำคิดเป็น 2 ใน 3 ของปริมาณทองคำทั้งหมดของโลก โดยเฉพาะแอฟริกาใต้นั้นมีกำลังการผลิตมากที่สุดซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณทองคำทั้งหมดของโลก
       ปี 2007 แอฟริกาได้ใต้สูญเสียตำแหน่งผู้ผลิตทองรายใหญ่ที่สุดของโลกให้กับประเทศจีน โดยประเทศจีนมีกำลังการผลิต 276 ตัน จากผลผลิตทองคำทั้งหมด 2,444 ตันทั่วโลก คิดเป็น 11.3% จากผลผลิตของทองคำทั่วโลก ในขณะที่แอฟริกาใต้มีผลผลิตรวม 272 ตัน คิดเป็น 11.1% จากผลผลิตของทองคำทั่วโลก อันดับสามได้แก่ สหรัฐอเมริกา โดยมีผลผลิตทองคำโดยประมาณเท่ากับ 255 ตัน คิดเป็น 10.4% จากผลผลิตของทองคำทั่วโลก และยังมีประเทศอื่นๆที่มีการผลิตทองคำในปริมาณรองลงมา ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนิเซีย เปรู รัสเซีย และแคนาดา ตามลำดับ

หน่วยน้ำหนักของทองคำ
กรัม : ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ถือว่าเป็นหน่วยสากล
ทรอยเอานซ์: ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
โทลา: ใช้กันทางประเทศแถบตะวันออกกลาง อินเดีย ปากีสถาน
ตำลึง: ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาจีน เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง
บาท: ใช้ในประเทศไทย
ชิ: ใช้ในประเทศเวียดนาม

การแปลงน้ำหนักทองคำ
ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5% (มาตรฐานในประเทศไทย)
• ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม
• ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม
ทองคำความบริสุทธิ์ 99.99%
• ทองคำ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1508 (ทรอย) ออนซ์
• ทองคำ 1 (ทรอย) ออนซ์ เท่ากับ 31.1040 กรัม
หมายเหตุ: ทรอยออนซ์ เป็นหน่วยชั่งของโลหะมีค่า
• 1 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 1.097 ออนซ์ (ปกติ)
• 12 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 1 ทรอยปอน
• 1 ทรอยปอน เท่ากับ 373 กรัม

การตั้งราคาทองคำ
การตั้งราคาทองในประเทศไทยอ้างอิงจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ Gold Spot และ USD-THB
Gold spot
คือ ราคาทองต่างประเทศ มีการซื้อขายทองโดยใช้เงินสกุลดอลล่าร์
USD-THB
คือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์
การตั้งราคาทองในประเทศไทย มีสูตรคำนวณดังนี้
สูตรคำนวณราคาทองคำ = (spot gold + 1) x อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท x 0.4729

96.5% VS 99.99%
      ทองคำ 96.5% กับ 99.99% จะแตกต่างกันที่เปอร์เซ็นต์ค่าความบริสุทธิ์ของทอง ถือว่าเป็นทองที่ได้มาตรฐานทั้งสองประเภทขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล โดยทองคำ 99.99% เป็นที่นิยมทั่วโลกและเป็นสากล ส่วนทองคำ 96.5% เป็นที่นิยมในประเทศไทยมากกว่า

       ราคา Spot Rate ที่มีการซื้อขายในต่างประเทศจะเป็นราคาทองคำ 99.99% ซึ่งหากจะใช้เปรียบเทียบราคาทองคำที่มีความบริสุทธิ์น้อยกว่าที่ 96.5% สามารถคูณราคาตามสัดส่วนความบริสุทธิ์ที่น้อยลง อย่างไรก็ตามราคาดังกล่าวจะเป็นราคาที่ใช้เพื่ออ้างอิงเท่านั้น ราคาการซื้อขายจริงอาจต้องรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ ที่เกิดขึ้น

       ราคาทองคำแท่ง 96.5% ในประเทศไทย ร้านค้าทองคำทั่วไปที่เชื่อถือได้จะใช้ราคาจากสมาคมค้าทอง ซึ่งจะมีส่วนต่างของราคารับซื้อกับราคาขายออกต่างกันอยู่ 100 บาท ซึ่งเป็นส่วนต่างของราคาที่นักลงทุนต้องคำนึงในการทำการซื้อขาย ดังนั้นจึงควรหาบริษัทที่รับซื้อขายทองคำเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ ที่มีการบริหารการซื้อขายทองคำที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นมืออาชีพ เพื่อจะได้รับทองคำที่ได้มาตรฐานและไม่ถูกหักเปอร์เซ็นต์ส่วนเพิ่มจากราคาที่สมาคมประกาศ เพื่อนักลงทุนจะได้ไม่สูญเสียโอกาสที่จะได้รับกำไรจากการลงทุนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ที่มา :  http://www.ylgbullion.com/th/knowledge.php

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,420
Page Views2,003,338
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view